องค์ประกอบของการแต่งงาน
- ชาย ว่าที่สามี
- หญิง ว่าที่ภรรยา
- วาลี (ผู้ปกครองของหญิง)
- คำกล่าว ทำสัญญา อิญาบ จากวาลีหรือผู้แทน คำกะบูล จากฝ่ายชาย หรือผู้แทน
- พยานที่เป็นเพศชาย 2 คน
เงื่อนไขของชายว่าที่สามี
- ไม่เป็นมุฮ์เร็ม หรือญาติกับฝ่ายหญิง
- ต้องเป็นมุสลิม
- ต้องกำหนดบุคคล
- ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์
- มีภรรยายังไม่ครบ 4 คน
- พิจารณาเลือกด้วยตนเอง
- ต้องเป็นชายแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
เงื่อนไขของหญิงว่าที่ภรรยา
- ต้องเป็นมุสลิม
- ต้องกำหนดบุคคล
- ต้องเป็นแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
- ไม่เป็นมุฮ์เร็มหรือญาติของฝ่ายชาย
- ไม่เป็นภรรยาของผู้อื่น
- ไม่อยู่ในอิดดะห์ของชายอื่น
- ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์
เงื่อนไขวาลีของหญิง
- เป็นมุสลิม
- มีสติปัญญา
- ครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์)
- ต้องเป็นชาย 100 เปอร์เซ็นต์
- มีความเป็นธรรม (ไม่ทำอบายมุข)
- พิจารณาเลือกด้วยตนเอง
- ไม่เป็นคนโง่หรือเสียสติ
เงื่อนไขของพยาน
- เป็นมุสลิม
- มีสติปัญญา
- ครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์)
- ได้ยินเสียงและเข้าใจภาษาชัดเจน
- มองเห็น
- พูดได้
- ไม่ทำความชั่ว ทั้งบาปใหญ่หรือบาปเล็ก
- ไม่เป็นวาลี (ผู้ปกครองของหญิง)
เงื่อนไขของคำกล่าว (ทำสัญญา)
- ต้องเป็นคำพูด เช่น แต่งงาน นิกะห์ หรือความหมาย
- คำกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขหรือพันทะใดๆ ต่อการทำสัญญา
- ต้องไม่กำหนดเวลา (ระยะเวลาการเป็นสามี – ภรรยา)
- คำรับต้องตอบรับว่า “ฉันรับ” หรือคำที่มีความหมายดังกล่าว
- คำกล่าว อิญาบ – กะบูลนั้นต้องระบุชื่อ หรือคำที่ใช้แทนชื่อของหญิงให้ชัดเจน
- คำกล่าวจะต้องไม่เว้นช่องว่างระหว่างอิญาบและกะบูล
- ทั้งผู้กล่าวและผู้รับนั้นต้องมีคุณสมบัติที่กำหนดจนเสร็จพิธี
- อย่าให้คำพูดอื่นมาแทรกแซงระหว่างคำกล่าวอิญาบและกะบูล
- คำกล่าวต้องมีเสียงชัดถ้อยชัดคำ
- ตัวอย่าง คำอิญาบ “ฉันนิกะห์ นาง/น.ส……………… ให้กับท่าน………………”
- ตัวอย่าง คำกะบูล “ฉันรับนิกะห์ นาง/น.ส…………… ให้กับฉัน………………..”
ที่มา : หนังสือคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน (นิกะห์) หน้า 9 – 12