จุดประสงค์/เป้าหมายการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม

จุดประสงค์/เป้าหมายการแต่งงานในอิสลาม

  1. เพื่อปฏิบัติตามคำสอนของอัลลอฮ์และแบบอย่างของท่านรอซูลมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ผู้ใดขัดขืนฝ่าฝืนนั้นถือว่ากระทำความผิด และกำลังแหวกออกจากแนวทางของรอซูล การแต่งงาน (สมรส) นั้นเป็นพื้นฐานและส่วนหนึ่งจากสัญชาติญาณของความเป็นมนุษย์และเป็นแนวทางของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ท่านศาสดาทรงห้ามจากคุณลักษณะเป็นโสด ไม่ยอมแต่งงาน เพราะการแต่งงานนั้นจะทำให้จิตใจมีสมาธิมากขึ้น สามารถยับยั้งอารมณ์ใฝ่ต่ำและนำไปสู่ความรักความเมตตาระหว่างสามี – ภรรยา
  2. แพร่พันธุกรรม (สืบทอดตระกูล) ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า จงแต่งงานกับผู้หญิงที่ท่านรักและให้บุตร เพราะฉันจะได้โอ้อวดเรื่องจำนวนประชากรต่อประชาชาติอื่นในวันปรโลก
  3. เพื่อกระชับความสัมพันธ์ต่อครอบครัว การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวสามี – ภรรยาเพื่อเพิ่มความรักความใกล้ชิดให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เพราะครอบครัวที่มีความผูกพันด้วยความรักระหว่างกันนั้นคือ ครอบครัวที่เข้มแข็งและมั่นคง
  4. เพื่อสร้างสถาบันครอบครัวให้สมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของครอบครัวนั้น เริ่มต้นที่สามี – ภรรยา ซึ่งบุคคลทั้งสองคือผู้สร้างครอบครัวและความผูกพันต่อไป
  5. เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนสู่การทำงาน เริ่มต้นที่งานชิ้นเล็กที่มั่นคงตลอดไป
  6. การแต่งงาน คือรูปแบบการปรับปรุงคุณธรรมจริยธรรม
  7. การแต่งงานในมุมมองด้านสังคมตามทัศนะอิสลาม การแต่งงานคือ วิถีการที่เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายสู่สังคมอันมีเกียรติและประกันความสัมพันธ์ที่มั่นคงต่อชนชาติในสังคมและสามารถแพร่ขยายสมาชิกในสังคมให้มากขึ้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้น ศาสนาอิสลามได้ส่งเสริมให้ประชาชาติเชื่อมความสัมพันธ์โดยการแต่งงาน
  8. บำบัดความต้องการทางธรรมชาติของอารมณ์
  9. ทำให้อิบาดะห์บางส่วนมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  10. รักษาศาสนาและแสวงหาความสำเร็จทั้งโลกนี้และปรโลก
  11. สร้างพลังงานสังคม เพิ่มประชากรโดยการมีบุตรมากขึ้น
  12. เชื่อมมิตรไมตรีระหว่างญาติพี่น้องฝ่ายสามี – ภรรยา
  13. ปลูกจิตสำนึกให้รับผิดชอบ
  14. แสวงหาความสุขทั้งกาย ใน และบริหารเวลาให้ถูกต้อง
  15. เพื่อหลีกห่างจากความชั่วหรือละเมิดทางเพศ
  16. เพื่อเพิ่มประชากรให้มากขึ้น

ที่มา : หนังสือคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน (นิกะห์) หน้า 4 – 7

บทความก่อนหน้านี้บทบัญญัติการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม
บทความถัดไปสิทธิ หน้าที่ของสามี – ภรรยาในอิสลาม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่