Bangkok Halal 2016 : “โอกาสฮาลาลไทย สู่ตลาดโลก”
เมื่อกี้มีโอกาสได้นั่งฟังปาฐกถาพิเศษโดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน หัวข้อ “โอกาสฮาลาลไทย สู่ตลาดโลก” จากที่ได้นั่งฟัง ได้รับความรู้ที่หลากหลายจากผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลก พิมพ์สรุปได้ว่า
ประชากรโลกปัจจุบันมีประมาณ 7.3 พันล้านคน ในจำนวนนี้เป็นประชากรมุสลิมประมาณ 1.6 พันล้านคน
เม็ดเงินที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารฮาลาลทั่วโลกมากกว่า 7 แสนล้านดอลลาร์
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับฮาลาล
อาหารฮาลาล
เสื้อผ้า แฟชั่น
ยารักษาโรค สุขภาพ
เครื่องสำอาง เสริมความงาม
การเดินทาง การท่องเที่ยว
การขนส่ง โลจิสติกส์ อาหารฮาลาล
เศรษฐกิจของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 2...
ต้อนรับฮิจเราะห์ศักราชใหม่ 1436
ต้อนรับฮิจเราะห์ศักราชใหม่ 1436
วันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม ฮ.ศ. 1436
ตรงกับวันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2557
ประกาศจุฬาราชมนตรี
เรื่อง กำหนดวันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม
ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1436
ตามที่ได้ประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1436 ในวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้น ปรากฏว่า ในวันและเวลาดังกล่าว มีผู้เห็นดวงจันทร์
...
องค์ประกอบของการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม
องค์ประกอบของการแต่งงาน
ชาย ว่าที่สามี
หญิง ว่าที่ภรรยา
วาลี (ผู้ปกครองของหญิง)
คำกล่าว ทำสัญญา อิญาบ จากวาลีหรือผู้แทน คำกะบูล จากฝ่ายชาย หรือผู้แทน
พยานที่เป็นเพศชาย 2 คน
เงื่อนไขของชายว่าที่สามี
ไม่เป็นมุฮ์เร็ม หรือญาติกับฝ่ายหญิง
ต้องเป็นมุสลิม
ต้องกำหนดบุคคล
ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์
มีภรรยายังไม่ครบ 4 คน
พิจารณาเลือกด้วยตนเอง
ต้องเป็นชายแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
เงื่อนไขของหญิงว่าที่ภรรยา
ต้องเป็นมุสลิม
ต้องกำหนดบุคคล
ต้องเป็นแท้ 100 เปอร์เซ็นต์
ไม่เป็นมุฮ์เร็มหรือญาติของฝ่ายชาย
ไม่เป็นภรรยาของผู้อื่น
ไม่อยู่ในอิดดะห์ของชายอื่น
ไม่ครองเอียะรอมฮัจย์หรืออุมเราะฮ์
เงื่อนไขวาลีของหญิง
เป็นมุสลิม
มีสติปัญญา
ครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์)
ต้องเป็นชาย 100 เปอร์เซ็นต์
มีความเป็นธรรม (ไม่ทำอบายมุข)
พิจารณาเลือกด้วยตนเอง
ไม่เป็นคนโง่หรือเสียสติ
เงื่อนไขของพยาน
เป็นมุสลิม
มีสติปัญญา
ครบอายุ (15 ปีบริบูรณ์)
ได้ยินเสียงและเข้าใจภาษาชัดเจน
มองเห็น
พูดได้
ไม่ทำความชั่ว ทั้งบาปใหญ่หรือบาปเล็ก
ไม่เป็นวาลี (ผู้ปกครองของหญิง)
เงื่อนไขของคำกล่าว (ทำสัญญา)
ต้องเป็นคำพูด...
สลามัตฮารีรายา อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ. 1444
Eid Al-Fitr Mubarak
تقبل الله منا ومنكم
ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนาวะมินกุม
สลามัตฮารีรายา อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ. 1444
ผิดพลาดประการใด ขอมาอัฟ (ขออภัย) ครับ
www.dulloh.com
จุดประสงค์/เป้าหมายการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม
จุดประสงค์/เป้าหมายการแต่งงานในอิสลาม
เพื่อปฏิบัติตามคำสอนของอัลลอฮ์และแบบอย่างของท่านรอซูลมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ผู้ใดขัดขืนฝ่าฝืนนั้นถือว่ากระทำความผิด และกำลังแหวกออกจากแนวทางของรอซูล การแต่งงาน (สมรส) นั้นเป็นพื้นฐานและส่วนหนึ่งจากสัญชาติญาณของความเป็นมนุษย์และเป็นแนวทางของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ท่านศาสดาทรงห้ามจากคุณลักษณะเป็นโสด ไม่ยอมแต่งงาน เพราะการแต่งงานนั้นจะทำให้จิตใจมีสมาธิมากขึ้น สามารถยับยั้งอารมณ์ใฝ่ต่ำและนำไปสู่ความรักความเมตตาระหว่างสามี - ภรรยา
แพร่พันธุกรรม (สืบทอดตระกูล) ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า จงแต่งงานกับผู้หญิงที่ท่านรักและให้บุตร เพราะฉันจะได้โอ้อวดเรื่องจำนวนประชากรต่อประชาชาติอื่นในวันปรโลก
เพื่อกระชับความสัมพันธ์ต่อครอบครัว การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวสามี - ภรรยาเพื่อเพิ่มความรักความใกล้ชิดให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เพราะครอบครัวที่มีความผูกพันด้วยความรักระหว่างกันนั้นคือ ครอบครัวที่เข้มแข็งและมั่นคง
เพื่อสร้างสถาบันครอบครัวให้สมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของครอบครัวนั้น เริ่มต้นที่สามี - ภรรยา ซึ่งบุคคลทั้งสองคือผู้สร้างครอบครัวและความผูกพันต่อไป
เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนสู่การทำงาน เริ่มต้นที่งานชิ้นเล็กที่มั่นคงตลอดไป
การแต่งงาน คือรูปแบบการปรับปรุงคุณธรรมจริยธรรม
การแต่งงานในมุมมองด้านสังคมตามทัศนะอิสลาม การแต่งงานคือ วิถีการที่เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายสู่สังคมอันมีเกียรติและประกันความสัมพันธ์ที่มั่นคงต่อชนชาติในสังคมและสามารถแพร่ขยายสมาชิกในสังคมให้มากขึ้น...
สลามัตฮารีรายา อีดิ้ลอัดฮา ฮ.ศ. 1444
Eid Al-Adha Mubarakتقبل الله منا ومنكم
ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนาวะมินกุมสลามัตฮารีรายา อีดิ้ลอัดฮา ฮ.ศ. 1444ผิดพลาดประการใด ขอมาอัฟ (ขออภัย) ครับwww.dulloh.com
บทบัญญัติการแต่งงาน (นิกะห์) ในอิสลาม
บทบัญญัติการแต่งงาน
การแต่งงาน (นิกะห์) หมายถึง การใช้ชีวิตคู่ระหว่างสองเพศ หรืออีกนิยามหนึ่งเรียกว่า การร่วมเพศ สำหรับในทางบทบัญญัตินั้นหมายถึง การทำสัญญาผูกมมัดระหว่างสองเพศเพื่ออนุญาตให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ โดยมีคำสัญญาที่ถูกกำหนดหรือมีความหมายที่เข้าใจ
อิสลามส่งเสริมให้แต่งงาน
จากอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนูร อายะฮ์ที่ 32 ความว่า "จงแต่งงานกับผู้ที่เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และกับคนดีจากปวงบ่าวผู้ชายและปวงบ่าวผู้หญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจนอัลลอฮ์จะทรงทำให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นด้วยความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวางและรอบรู้"
ดังนั้นนักวิชาการได้แบ่งข้อบัญญัติว่าด้วยการนิกะห์ ออกเป็น 5 ประเภท
ส่งเสริม (สุนัต) สำหรับผู้ที่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดูและปฏิบัติภารกิจหน้าที่รับผิดชอบของสามี (ซอฮิร บาติน) มีความประสงค์เพื่อทำตามแบบอย่างของท่านศาสดา
ฮะโรส (อนุญาต) หากบุคคลนั้นมีความพร้อมการสร้างครอบครัวและปรนเปรออารมณ์ตามที่ศาสนาอนุมัติ ทั้งนี้เขามีความสามารถยับยั้งการทำความชั่ว เช่น ละเมิดประเวณี เป็นต้น
ไม่ควร (มักโรห์) สำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดู และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของสามีหรือไม่สามารถจ่ายมะฮัรได้
จำเป็น...
สิทธิ หน้าที่ของสามี – ภรรยาในอิสลาม
สิทธิของสามี - ภรรยาได้รับร่วมกัน
สามี - ภรรยามีสิทธิในการใช้ชีวิตคู่ครองในครอบครัว
ศาสนาได้อนุมัติให้ชาย หญิงทั้งคู่ได้เป็นสามี - ภรรยาได้ถูกต้อง
สามารถใช้อำนาจปกครอง ดูแล ควบคุมบุตรหลานของตนที่อายุยังไม่ครบ 18 ปี
หากฝ่ายสามีหรือภรรยาละทิ้งหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตน อีกฝ่ายสามารถร้องเรียนความเป็นธรรมจากผู้มีอำนาจได้
ทรัพย์สินที่ได้สร้างร่วมกันมาหลังจากแต่งงานนั้น ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิได้รับเท่าเทียมกัน (สินสมรส)
หากฝ่ายให้มีเหตุผลเป็นที่ยอมรับ ตามหลักการศาสนาทุกประการก็สามารถฟ้องหย่าอีกฝ่ายหนึ่งได้
สิทธิของสามี
สามี คือ ผู้นำครอบครัว
ต้องได้รับความเคารพ เกียรติและศักดิ์ศรีจากภรรยาตามความเหมาะสม
สิทธิของภรรยา
ภรรยา คือ แม่บ้าน
ต้องได้รับปัจจัยยังชีพภายในครอบครัวทุกอย่าง ตามความสามารถของสามี
ต้องได้รับความคุ้มครองความอบอุ่นจากสามี
หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
ให้ความสุขทางเพศต่อภรรยาของตนได้
คบค้าสมาคมต่อภรรยาและครอบครัวของนางโดยดี
ให้ที่อยู่อาศัยและปัจจัยเลี้ยงชีพอื่นๆ ตามสมควร
ต้องจ่ายเงินสินสอด (มะฮัร) ให้หมด
อบรมสั่งสอนให้ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา
ต้องให้ความเป็นธรรม กรณีที่มีภรรยามากกว่า 1 คน
ไม่ทำในสิ่งที่กระทบต่อความรู้สึกที่ไม่ดีต่อภรรยา
ให้ความรัก ความอบอุ่น ใจเย็น สุขุมและอ่อนโยน
อดทนต่อสภาพปัญหาต่างๆ
ไม่เปิดเผยความลับหรือปมด้อยของภรรยาให้ผู้อื่นรู้
ต้องให้เกียรติและยกย่องภรรยาเสมอ
ไม่กล่าวหาใส่ร้ายภรรยา
ไม่ปลอยหรือละเลยให้ภรรยาว้าเหว่หรือโดดเดี่ยว
หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
ภักดี ยินยอมให้สามีร่วมเพศ
ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเวลาที่สามีไม่อยู่
คบค้าสมาคมโดยดี
ยอมรับคำกล่าวตักเตือนของสามี...
ดุอาอ์ คำอวยพรแก่คู่บ่าวสาว งานมงคลสมรส (วาลีมะฮ์)
ดุอาอ์ คำอวยพร
بارك الله لكما وبارك عليكما وجمع بينكما في خير
Baraka Allahu Lakuma wa Baraka alikuma Wa jamaah baina kuma fee khair
“May Allah bless you both and bless on you and may gather you in...