พาเที่ยวประเทศลาว EP.7 สถานีขนส่งนครหลวงเวียงจันทร์
สถานีขนส่งนครหลวงเวียงจันทร์ สปป. ลาว หรือ สถานีขนส่งขัวดิน (Vientiane Bus Station)
สถานีขนส่งนครหลวงเวียงจันทร์ สปป. ลาว หรือ สถานีขนส่งขัวดิน (Vientiane Bus Station) ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดเช้า ถ้าหากเราเดินทางจากประเทศไทยด้วยรถประจำทางไปยังลาวโดยตรง ก็จะมีลงที่สถานีขนส่งแห่งนี้ด้วย ปัจจุบันในลาวมีรถโดยสารสาธารณะระหว่างเมืองให้เลือกตั้งแต่รถสองแถว รถตู้ รถมินิบัส และรถบัส(ธรรมดา, แอร์, ด่วน และ VIP) แต่หากเป็นในเมืองใหญ่จะมีหลายประเภทมากกว่าในเมืองเล็ก นอกจากนี้บางเส้นทางยังอาจไม่มีรถทุกวัน ที่สำคัญอาจเปลี่ยนแปลงเวลา ยกเลิก หรือให้บริการเฉพาะบางรอบเท่านั้น ทางที่ดีควรตรวจสอบรอบและค่าโดยสารที่สถานีก่อนวันเดินทาง (โดยเฉพาะเมืองเล็กๆ) ข้อสังเกตก็คือ หากเป็นการเดินทางภายในแขวงหรือระยะสั้น...
พาเที่ยวประเทศลาว EP.11 ตลาดเช้า
ตลาดเช้า (ตะหลาดซ้าว)
ถนนล้านช้าง เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 – 16.00 น.
ตลาดเช้าเป็นแหล่งช้อปปิ้งติดแอร์ขนาดใหญ่แห่งแรกของลาว (คล้ายห้างสรรพสินค้า) ดูไปแล้วสินค้าจะคล้ายๆกับห้างมาบุญครองบ้านเรา สินค้าส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศ จีน ไทย เวียดนาม ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก คือ ร้านขายสินค้าทั่วไป เช่น เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, งานฝีมือ, เครื่องดนตรี, เครื่องใช้ไฟฟ้า, โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
ส่วนที่สอง จะเป็นตลาดขายของเก่า รวมถึงของที่ระลึกทั่วไปและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาภายหลังยังได้ต่อเติมอาคารใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนและการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ตลาดเช้ามอลล์ (TALADSAO MALL)
ถนนล้านช้าง เปิดทุกวัน...
พาเที่ยวประเทศลาว EP.1 มาทำความรู้จักลาวกัน
สวัสดีครับ ขอเริ่มบทความแรกของคอมลัมน์ แอดมินพาเที่ยวอาเซียน ด้วยการพาไปเที่ยว นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เนื่องจากผมเพิ่งได้มีโอกาสไปเที่ยว นครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อมานานมานี้เอง ส่วนประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่ผมเคยไป จะพยายามเขียนเป็นบทความต่อๆ ไปในเร็วๆ นี้ครับ ก่อนจะไปเที่ยวลาว เรามาทำความรู้จักประเทศลาวกันก่อนดีกว่า
ข้อมูลพื้นฐาน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว (ລາວ: ສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ.ລາວ) หรือภาษาอังกฤษชื่อ Lao People’s Democratic Republic เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติ ศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และ วัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบก และทาง น้ำเป็นแนวยาวถึง 1,810...
พาเที่ยวประเทศลาว EP.8 นครหลวงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์ แยกออกมาจากแขวงเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2532 มีชื่อเดิมว่า “กำแพงนครเวียงจันทน์” ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศลาว มีสถานะเป็นทั้งเมืองหลวงและเขตปกครองพิเศษ ประกอบด้วยเมือจันทบูลี ซึ่งเป็นเมืองเอกประจำแขวง, เมืองสีโคดตะบอง, เมืองไซเสดถา, เมืองสีสัดตะนาก, เมืองนาซายทอง, เมืองไซทานี, เมืองหาดซายฟอง, เมืองสังทอง และเมืองปากงึม นอกจากเวียงจันทน์จะมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากมาย ปัจจุบันยังถือได้ว่าเจริญที่สุดในประเทศลาวด้วย ส่วนหนึ่งก็เพราะอยู่ติดกับจังหวัดหนองคาย ที่เชื่อมกันด้วยสะพานมิตรภาพไทย – ลาว (แห่งที่ 1) ทำให้การคมนาคม ขนส่ง และการค้าระหว่างประเทศทำได้โดยสะดวก
ตัวเมืองเวียงจันทน์ตั้งอยู่ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร โดยจุดที่เป็นจุดศูนย์รวมสำหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ บริเวณใกล้ๆ...
พาเที่ยวประเทศลาว EP.5 เดินทางด้วยเครื่องบิน
ไปลาวด้วยเครื่องบิน
การเดินทางไปลาวด้วยเครื่องบิน ก็เป็นวิธีการเดินทางอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการเดินทางด้วยเครื่องบินทำให้ประหยัดเวลาเดิน (แต่ไม่ประหยัดเงิน) ใช้เวลาการเดินทางน้อยกว่าการเดินในรูปแบบอื่นๆ ใช้เวลาในการเดินทางแค่เพียง 1 ชั่วโมงกว่าๆ เท่านั้นเอง ในขณะที่เดินทางด้วยรถใช้เวลาประมาณ 11 ชั่วโมง หรือการเดินทางด้วยรถไฟใช้เวลาประมาณ 13 ชั่วโมง แต่แน่นอนการที่จะได้มาซึ่งความเร็วกว่า เราก็ต้องยอมจ่ายค่าเดินทางที่มากกว่าหลายเท่าตัว ซึ่งสายการบินที่บินตรงจาก กรุงเพทฯ – นครหลวงเวียงจันทน์ ที่นำมาแนะนำมี การบินไทย, นกแอร์ และลาวแอร์ไลน์ (ส่วนไทยแอร์เอเชีย ไม่มีเครื่องบินตรงไปยังเวียงจันทน์นะครับ มีเพียงสายการบินภายในประเทศไปยังจังหวัดชายแดนเท่านั้น) ซึ่งสายการบินต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ครับ
การบินไทย
เที่ยวไป
กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) - นครหลวงเวียงจันทน์ (เวียนเทียน)
11:45
กรุงเทพ (BKK)
12:55
เวียนเทียน...
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ASCC
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ASCC คืออะไร ?
- ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ.2549 ที่บาหลี ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ใน Bali Concord II เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2563 ประกอบด้วยประชาคมในสามเสาหลัก ในส่วนของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคม ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน...
การวางรากฐานของอาเซียนด้วย สามเสาหลัก
ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของ ประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น
ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่นโรคระบาด การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติเช่น คลื่นยักษ์สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้
เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน...
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คืออะไร ?
ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบเมื่อปี 2545 ให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน” ภายในปี 2558 เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะ ที่เสียเปรียบ
กระบวนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักในการที่จะทำให้อาเซียนบรรลุสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี...
ธงและสัญลักษณ์ อาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of Southeast Asian Nations)
คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
สัญลักษณ์อาเซียน “รวงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันไว้”หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคงสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้าสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์ปฏิญญากรุงเทพ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510กฎบัตรอาเซียน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551ภาษาราชการ ...
ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน APSC
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political - Security Community: APSC)
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของ อาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือการเผชิญกับภัยคุกคามที่มาในรูปแบบใหม่ อาทิ การก่ออาชญากรรมและการก่อการร้ายข้ามชาติ
ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี 2558 เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน เป็นหนึ่งในสามเสาความร่วมมือสำคัญของประชาคมอาเซียน
การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสันติภาพและความมีเสถียรภาพทางการเมืองของภูมิภาคอัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้าน ต่างๆ เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งใน รูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ บนพื้นฐานของหลักการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ และให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค
กระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากการนำความร่วมมือและความตกลงของอาเซียนด้านการเมืองและความ มั่นคงที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว มาต่อยอดให้มีผลเป็นรูปธรรมและมีความแบบแผนมากยิ่งขึ้น อาทิ ข้อบทต่างๆ ภายใต้สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...