ธงและสัญลักษณ์ อาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of Southeast Asian Nations)
คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
สัญลักษณ์อาเซียน “รวงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันไว้”หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคงสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้าสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์ปฏิญญากรุงเทพ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510กฎบัตรอาเซียน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551ภาษาราชการ ...
ความร่วมมือที่สำคัญของอาเซียน
ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน
อาเซียนเริ่มจัดการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Ministers on Energy Meeting – AMEM) ครั้งแรกในปี 2525 โดยเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางพลังงานเพื่อรองรับการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายด้านพลังงานในระดับภูมิภาคที่อาศัยจุดแข็งและศักยภาพ ของแต่ละประเทศในอาเซียนที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตลอดจนพลังงานทดแทน ในรูปแบบต่างๆ ความร่วมมือด้านพลังงานที่สำคัญในอาเซียน ได้แก่
1. โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the ASEAN Power Grid ปี 2550 เพื่อเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าใน อาเซียน ปัจจุบันมีโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ก่อสร้างเสร็จและ ดำเนินการแล้ว...
การวางรากฐานของอาเซียนด้วย สามเสาหลัก
ในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทการสร้างบรรยากาศของสันติภาพและการอยู่ร่วมกันโดยสันติของ ประเทศในภูมิภาค การช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น
ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่นโรคระบาด การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติเช่น คลื่นยักษ์สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้
เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน...