บทบัญญัติการแต่งงาน
การแต่งงาน (นิกะห์) หมายถึง การใช้ชีวิตคู่ระหว่างสองเพศ หรืออีกนิยามหนึ่งเรียกว่า การร่วมเพศ สำหรับในทางบทบัญญัตินั้นหมายถึง การทำสัญญาผูกมมัดระหว่างสองเพศเพื่ออนุญาตให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ โดยมีคำสัญญาที่ถูกกำหนดหรือมีความหมายที่เข้าใจ
อิสลามส่งเสริมให้แต่งงาน
จากอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อันนูร อายะฮ์ที่ 32 ความว่า “จงแต่งงานกับผู้ที่เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และกับคนดีจากปวงบ่าวผู้ชายและปวงบ่าวผู้หญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจนอัลลอฮ์จะทรงทำให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นด้วยความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวางและรอบรู้”
ดังนั้นนักวิชาการได้แบ่งข้อบัญญัติว่าด้วยการนิกะห์ ออกเป็น 5 ประเภท
- ส่งเสริม (สุนัต) สำหรับผู้ที่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดูและปฏิบัติภารกิจหน้าที่รับผิดชอบของสามี (ซอฮิร บาติน) มีความประสงค์เพื่อทำตามแบบอย่างของท่านศาสดา
- ฮะโรส (อนุญาต) หากบุคคลนั้นมีความพร้อมการสร้างครอบครัวและปรนเปรออารมณ์ตามที่ศาสนาอนุมัติ ทั้งนี้เขามีความสามารถยับยั้งการทำความชั่ว เช่น ละเมิดประเวณี เป็นต้น
- ไม่ควร (มักโรห์) สำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถจ่ายค่าเลี้ยงดู และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของสามีหรือไม่สามารถจ่ายมะฮัรได้
- จำเป็น (วายิบ) สำหรับผู้ที่คิดว่าตัวเองอาจตกอยู่ในสภาพเหตุการณ์สู่การทำซินาหากไม่แต่งงาน และมีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ต่อครอบครัว
- ต้องห้าม (ฮะรอม) สำหรับผู้ที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเองได้หรือตนเองเป็นคนทรยศ หรือตนเองเป็นคนพิศดารทางเพศ ที่อาจเกิดอันตรายต่อคู่สมรสได้
บัญญัติเรื่องการเลือกคู่ครอง
อิสลามสอนให้เรารู้วิธีเลือกคู่ครองที่มีความพร้อมตามแนวทางที่ศาสนาได้กำหนด ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า ความว่า “หากชายใดเกิดความคิดต้องการหมั้นหมายกับหญิงนางหนึ่ง ดังนั้นไม่ผิดหรอกหากเขาจะมองตัวของนาง (ใบหน้าเพื่อทำการหมั้น)”
ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า ความว่า จงแต่งงานกับหญิง 4 ประเภทดังต่อไปนี้
- เพราะทรัพย์สินของนาง
- เพราะความสวยของนาง
- เพราะวงศ์ตระกูลของนาง
- เพราะศาสนาของนาง
ดังนั้นเจ้าจงเลือกเอานางที่มีศาสนา จะทำให้ท่านมีความสุข
วิธีเลือกคู่สมรส สามี ภรรยา
บทบัญญัติการเลือกคู่ครองคือ ส่งเสริม (สุนัต) โดยวิธีการเลือกคู่ครองมีดังต่อไปนี้
- มีศาสนา
- ชนิดตระกูลที่ให้บุตรมากและมีความรักความเมตตา
- บริสุทธิ์
- วงศ์ตระกูล
- ปราศจากปมด้อยต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การฟ้องหย่า เช่น โรคติดต่อและอื่นๆ
- ไม่เป็นเครือญาติ (เครือญาติที่นิกะห์ได้)
- ต้องเป็นไท ไม่เป็นทาส
- สถานะเดียวกัน
- ไม่ละเมิดประเวณี หรือซีนา
บัญญัติเรื่องมะฮัร (สินสอด)
มะฮัรนั้นมี 2 ประเภท
- คำกล่าว มะฮะรมุชำมา คือสินสอดที่ได้ระบุในคำสัญญาอิญาบ กะบูล โดยการตกลงกันทั้งสองฝ่าย
- คำกล่าว มะฮะรมะซัล คือ สินสอดที่ไม่ได้ระบุจำนวนที่แน่นอน แต่ทางฝ่ายชายได้ประเมินราคาและกำหนดไปตามสถานภาพของบุคคล ครอบครัว หน้าที่การงาน สังคมของฝ่ายหญิง
ประเภททรัพย์สินที่จ่ายมะฮัร เป็นประเภทสิ่งของมีค่า มีประโยชน์นั้นนำมาจ่ายเป็นมะฮัรได้ อัตราสินสอดนั้นจะมากหรือน้อยนั้น ให้เป็นดุลพินิจของทั้งสองฝ่าย แต่ก็ไม่ควรตั้งมะฮัรให้สูงเกินไป เพราะจะทำให้ฝ่ายชายเดือดร้อน
บัญญัติเรื่องการหมั้นและวิธีการหมั้น
บัญญัติการหมั้น เป็นสิ่งที่ศาสดาส่งเสริม โดยวิธีการหมั้นมีดังนี้
- ห้ามผู้ชายหมั้นหญิงที่เป็นคู่หมั้นของชายอื่น
- ห้ามมองหญิงที่จะทำการหมั้นนอกจากใบหน้าและสองฝ่ามือ
- ห้ามใช้ชีวิตอยู่สองต่อสองในที่เปล่าเปลี่ยวโดยไม่มีญาติหรือบุคคลที่สาม
- ห้ามนำพาคู่หมั้นก่อนนิกะห์ออกจากบ้าน แม้ว่าทางผู้ปกครองแต่ละฝ่ายจะอนุญาตก็ตาม
- ห้ามฝ่ายชายสวมแหวนหมั้นที่นิ้วมือของฝ่ายหญิงก่อนทำพิธีนิกะห์
- สิ่งของที่มอบให้ในวันหมั้นไม่อนุญาตให้ขอคืน
พิธีกรรม การนิกะห์ (แต่งงาน)
มีพิธีกรรมในการนิกะห์ ดังต่อไปนี้
- การนิกะห์ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หลักการเงื่อนไขทุกประการ
- ไม่ตั้งค่าสินสอด (มะฮัร) สูงเกินไป
- ควรจัดงานเลี้ยงตามความเหมาะสมในคืนหรือวันที่ทำการนิกะห์
- ควรทำพิธีนิกะห์ในมัสยิด
- ห้ามนำรูปแบบหรือกิจกรรมที่ต้องห้ามมาปะปนในพิธีนิกะห์
ที่มา : หนังสือคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน (นิกะห์) หน้า 13 -16
อยากทราบว่าลูกพี่ลูกน้องแต่งงานกันได้มั้ย..ช่วยตอบหน่อย
ได้ครับ